วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สารประกอบแอลกอฮอล์ ฟีนอล และ อีเทอร์

แอลกอฮอล์

"แอลกอฮอล์" (alcohol) หลายคนมักจะเหมารวมว่าหมายถึงเหล้า ทั้งที่ความจริงแอลกอฮอล์เป็นชื่อสารเคมีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งที่รู้จักกันมากที่สุดคือ "เอทานอล" (ethanol) หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" (ethyl alcohol) และ "เมทานอล" (methano   
หลายคนคงเคยเข้าใจผิดว่า "เหล้า" เครื่องดื่มที่ใช้ดื่มนั้น มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ และเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดเดียวกัน แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะ "เหล้า" ไม่ได้หมายถึง "แอลกอฮอล์" และ แอลกอฮอล์ก็ไม่ได้มีแต่เหล้าเท่านั้น   ซ้ำบางชนิดถ้าใช้ผิด เป็นพิษถึงตาย
เวลาพูดถึง "แอลกอฮอล์" (alcohol) หลายคนมักจะเหมารวมว่าหมายถึงเหล้า ทั้งที่ความจริงแอลกอฮอล์เป็นชื่อสารเคมีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งที่รู้จักกันมากที่สุดคือ "เอทานอล" (ethanol) หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" (ethyl alcohol) และ "เมทานอล" (methanol) หรือ "เมทิลแอลกอฮอล์" (methyl alcohol) ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้แม้จะมีคุณสมบัติหลายๆ อย่างที่คล้ายกัน แต่ความเป็นพิษต่อร่างกายนั้นแตกต่างกันอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง ดังนั้น เรามาทำความจักกับ "เอทิล - เมทิลแอลกอฮอล์" กันดีกว่า
"เอทิลแอลกอฮอล์" หรือ "เอทานอล" มีสูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ความเป็นพิษต่อร่างกาย คือ โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคือ อาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน

ส่วน "เมทิลแอลกอฮอล์" หรือ "เมทานอล" มีสูตรเคมีคือ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมการทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ ความเป็นพิษต่อร่างกายถือได้ว่า มีพิษมาก โดยเมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ ผู้ที่สูดดมเข้าไประคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ

ถ้าหากหายใจเอาเมทานอลเข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดการปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจทำให้ตาบอดได้ แต่หากดื่มเข้าไป ทางเดินอาหารจะดูดซึมละกระจายเข้าสู่กระแสเลือดทันที มีผลให้ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด มีผลต่อประสาทตา อาจทำให้ตาบอด ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบหายใจ ทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว เมื่อจะชื้อหรือนำมาใช้ประโยชน์ ต้องระบุชื่อชนิดของแอลกอฮอล์ให้ถูกต้อง ชัดเจนพร้อมทั้งอ่านฉลากข้างขวดให้แน่ชัดก่อนใช้ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย และที่สำคัญคือห้ามผสมเหล้าด้วยการซื้อแอลกอฮอล์มาเติมเองโดยเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นะค่ะ

สารประกอบฟีนอล
สารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) หรือสารประกอบฟีนอล เป็นสารที่พบตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด เช่น ผัก
ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพร ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดธัญพืช ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโต สารประกอบฟีนอล
มีโภชนเภสัช ซึ่งสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพคือ มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลิสระ (antioxidant) สามารถละลายได้ในน้ำ

โครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบฟีนอล
สารประกอบฟีนอล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวน ที่เป็นอนุพันธ์ของวงแหวนเบนซิน มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH group)
อย่างน้อยหนึ่งหมู่ต่ออยู่ สารประกอบฟีนอลพื้นฐาน คือ สารฟีนอล (phenol) ในโมเลกุลประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง
และหมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่
สารประกอบฟีนอลที่พบในธรรมชาติมีมากมายหลายชนิด และมีลักษณะสูตรโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กลุ่ม
ที่มีโครงสร้างอย่างง่าย เช่น กรดฟีนอลิก (phenolic acids) ไปจนถึงกลุ่มที่มีโครงสร้างเป็นพอลิเมอร์ เช่น ลิกนิน (lignin)
กลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบคือ สารประกอบพวกฟลาโวนอยด์ (flavonoid)
สารประกอบฟีนอลที่พบในพืชมักจะรวมอยู่ในโมเลกุลของน้ำตาลในรูปของสารประกอบไกลโคไซด์ (glycoside) น้ำตาลชนิด
ที่พบมากที่สุดในโมเลกุลของสารประกอบฟีนอล คือ น้ำตาลกลูโคส (glucose) และพบว่าอาจมีการรวมตัวกันระหว่าง
สารประกอบฟีนอลด้วยกันเอง หรือสารประกอบฟีนอลกับสารประกอบอื่นๆ เช่น กรดอินทรีย์ (organic acid) รวมอยู่ในโมเลกุล
ของโปรตีน แอลคาลอยด์ (alkaloid) และเทอร์พีนอยด์ (terpenoid) เป็นต้น
แหล่งที่พบ
สารประกอบฟีนอล พบอยู่ในส่วนของช่องว่างภายในเซลล์ (cell vacuole) ในส่วนต่างๆ ของพืช เป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ
ประโยชน์ในกระบวนการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพืชแต่ละชนิด
·         ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
·         เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว และ งา
·         ผลไม้ ได้แก่ องุ่น ส้ม กระท้อน
·         เครื่องเทศ เช่น พริกไทย พริก ขิง กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่
·         พืชเครื่องดื่ม ได้แก่ ชา โกโก้
·         พืชหัว ได้แก่ มันเทศ
ตัวอย่างของสารประกอบฟินอลที่พบตามธรรมชาติในพืช
·         จินเจอรอล (gingerol) พบใน ขิง
·         ยูจินอล (eugenol) ใน กานพลู ตะไคร้ ใบกระเพรา
·         แคปไซซิน (capsaicin) ในพริก
·         เคอคิวมิน (Curcumin) ในขมิ้น
·         แคทีชิน (catechin) ในชา

สารประกอบฟีนอล ประเภทสารสังเคราะห์
·         BHT
·         BHA
·         TBHQ

สรรพคุณของสารประกอบฟีนอล
1. ประโยชน์ต่อสุขภาพ สารประกอบฟีนอลหลายชนิดมีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน
และเป็นสารต้านการกลายพันธุ์ (antimutagrns) มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ สามารถการป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจ
ขาดเลือด และมะเร็ง โดยสารประกอบฟีนอล จะทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระ (free radical) และไอออนของโลหะที่สามารถเร่ง
การ เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและโมเลกุลอื่นๆ โดยใช้ตัวเองเป็นตัวรับอนุมูลอิสระ (free radical) ทำให้ยับยั้งปฏิกิริยา
ลูกโซ่ ที่มีอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุ แต่สารต้านอนุมูลอิสระจะถูกทำลายไปด้วย

2. ใช้เพื่อการถนอมอาหาร โดยใช้เป็นสารกันหืน ป้องกันปฏิกิริยาการออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น